เป็นที่โต้แย้งกันหลายฝ่าย บางโปรแกรมการดูแลสุขภาพบอกว่า เนื้อแดง ดี แต่ในอีกด้านบอกว่าเนื้อแดงสามารถก่อให้เกิดผลเสียต่อร่างกายในระยะยาวได้ แล้วสิ่งที่เราควรนำมาใช้ในการพิจารณาคืออะไร? เพราะอันที่จริงแล้ววัตถุดิบอาหารต่างๆ ในโลกนี้ก็ล้วนให้ทั้งคุณและโทษคู่กันทั้งนั้น แม้ว่าจะเป็นวัตถุดิบที่เลิศเลอที่สุดก็ตาม
ทำความรู้จักกับ “เนื้อแดง”

คำว่าเนื้อแดงในท้องตลาดนั้นหมายความรวมถึงเนื้อสัตว์ทุกชนิด ซึ่งเราใช้คำนี้เพื่อแยกสีของเนื้อสัตว์ว่ามีสีแดง หรือสีขาว ขึ้นอยู่กับปริมาณของไมโอโกลบิน (Myoglobin) ที่พบในกล้ามเนื้อของสัตว์ ไมโอโกลบินเป็นโปรตีนที่พบในเนื้อสัตว์ และจะกลายเป็นสีแดงเมื่อสัมผัสกับออกซิเจน
เราสามารถพบเนื้อแดงได้ในเนื้อของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ได้แก่ เนื้อหมู เนื้อแกะ เนื้อลูกวัว และเนื้อวัว เป็นต้น
เนื้อแดง ดีต่อสุขภาพหรือไม่

มีหลักฐานเป็นงานวิจัยมากมายที่แสดงว่าเนื้อแดงและเนื้อสัตว์แปรรูป เช่น เบคอน ไส้กรอก ไม่ดีต่อสุขภาพ ดังนั้นทุกครั้งที่คุณเลือกรับประทานเนื้อแดงควรเป็นเนื้อดิบที่ไม่ผ่านกระบวนการแปรรูป และควรจำกัดปริมาณการรับประทานต่อวัน
สิ่งที่ควรพิจารณา มีดังนี้
- เนื้อหมู: เลือกเนื้อหมูที่ไม่ติดมัน เช่น เนื้อซี่โครง สันใน และสันกลาง พยายามตัดไขมันที่มองเห็นออกจากเนื้อหมู หลีกเลี่ยงของแปรรูป เช่น ไส้กรอก และเบคอน
- เนื้อวัว: เลือกเนื้อวัวที่มีเนื้อบาง เช่น เนื้อสีข้าง เนื้อสันนอก เนื้อสันใน และส่วนปลาย การตัดแบ่งตามสัดส่วนเหล่านี้มักจะมีแคลอรี ไขมัน และโปรตีนน้อยกว่าตัวเลือกอื่นๆ นอกจากนั้นควรตัดไขมันที่มองเห็นออกจากเนื้อด้วย
- เนื้อบด: มีเนื้อสัตว์หลายชนิดที่มักถูกนำมาบด ได้แก่ ไก่ ไก่งวง เนื้อหมู และเนื้อวัว ควรอ่านฉลาก และเลือกเนื้อสัตว์ที่ไม่ติดมัน หรืออย่างน้อยมีปริมาณไขมันไม่เกิน 10%

เนื้อแดงมีวิตามิน แร่ธาตุ และสารอาหารอื่นๆ มากมายที่ร่างกายต้องการ เนื้อแดงเป็นแหล่งโปรตีน วิตามินบี เหล็กและสังกะสีที่ดี แต่ขึ้นอยู่กับประเภทของเนื้อแดงที่คุณกิน และกินบ่อยแค่ไหน
เมื่อคุณตัดสินใจเตรียมเนื้อแดงมาประกอบในมื้ออาหาร ให้เน้นไปที่วิธีการปรุงแบบแห้ง เช่น การอบ การย่าง การลวก หรือการทอดโดยหมอทอดไร้น้ำมัน พยายามจำกัดการบริโภคเนื้อแดงของคุณให้เหลือประมาณ 1-2 หน่วยบริโภคต่อสัปดาห์ (ประมาณสเต๊กขนาดมาตรฐาน 1-2 ชิ้น) หากคุณมีโรคหัวใจ หรือมีระดับคอเลสเตอรอลสูง คำแนะนำคือจำกัดเนื้อแดงเพียง 1 ครั้งต่อสัปดาห์
หากไม่กินเนื้อแดงควรกินอะไร
อย่างที่เราเกริ่นไปข้างต้นว่าเนื้อแดงก็มีประโยชน์ต่อสุขภาพ แต่ต้องจำกัดปริมาณการบริโภค ดังนั้นจึงเกิดคำถามต่อเนื่องว่า…หากต้องจำกัด ไม่สู้เปลี่ยนไปกินอย่างอื่นเลยไม่ดีกว่าหรือ? อันที่จริงแล้วหากคุณมองหาแหล่งโปรตีนทดแทนยังคงสามารถหาได้จากผัก ผลไม้ ธัญพืช พืชตระกูลถั่วจำนวนมาก ซึ่งเป็นตัวแทนที่เหมาะอย่างยิ่ง นอกจากนั้นยังรวมถึงเนื้อปลา และเนื้อสัตว์สีขาวอื่นๆ ด้วย ซึ่งการเปลี่ยนตัวเลือกทางโภชนาการนี้ทำให้คุณได้รับปริมาณแคลอรีน้อยลง ไขมันน้อยลง แต่มีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจลดลง