สุขภาพจิตในวัยรุ่น วัยรุ่นทั่วโลกต่างประสบอยู่ในปัญหาเดียวกันคือ ปัญหาโรคซึมเศร้า ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเกิดจากปัจจัยภายนอกมากกว่าปัญหาเคมีในสมอง เนื่องจากเด็กวัยรุ่นอายุราว ๆ 18 – 25 เป็นวัยที่อยู่ในช่วงการเปลี่ยนสภาพแวดล้อมต่าง ๆ จากการที่มีพ่อแม่ดูแลต้องมาอยู่เพียงคนเดียว ใช้ชีวิตของตัวเอง ทั้งยังต้องอยู่ในสังคมที่มีการแข่งขันสูงอีก ทำให้เด็กในวัยนี้มีโอกาสสูงที่จะเป็นโรคซึมเศร้าได้ง่าย ทำไมวัยรุ่นไทยถึงเป็นโรคซึมเศร้า ปัจจัยที่ส่งผลต่อสุขภาพจิตในวัยรุ่นไทย 2020
สุขภาพจิตในวัยรุ่น สามารถทำให้เป็นโรคซึมเศร้า ได้

ทำไมวัยรุ่นไทยถึงเป็นโรคซึมเศร้า ปัจจัยที่ส่งผลต่อสุขภาพจิตในวัยรุ่นไทย 2020 จากผลการสำรวจเมื่อปี 2018 – 2019 จากวัยรุ่นไทยที่โทรไปขอคำปรึกษาเกี่ยวกับปัญหาชีวิตที่เบอร์ 1323 พบว่ามีเด็กวัยรุ่นโทรเพื่อรับคำปรึกษามากกว่าปีก่อนพอสมควรเลยทีเดียว อาจเป็นเพราะเด็กรุ่นใหม่รู้จักตัวเองมากขึ้นและรู้ถึงการเข้าถึงวิธีการรักษาต่าง ๆ รวมถึงเบอร์ติดต่อที่สามารถให้คำปรึกษาเกี่ยวกับปัญหาต่าง ๆ ได้ ที่จริงเด็กวัยนี้อาจไม่ต้องการวิธีแก้ปัญหาแต่ต้องการให้มีใครสักคนรับฟังเรื่องราวของตัวเองมากกว่า จากสายที่โทรมาปรึกษาทำให้ทราบว่าปัญหาซึมเศร้าที่เกิดจากเด็กในวัยนี้ 60% เกิดจากปัญหาครอบครัว ความสัมพันธ์ในครอบครัวแตกแยก 32% เกิดจากปัญหาทางหน้าที่การงานและความรับผิดชอบที่มากขึ้น 7% เกิดจากปัญหาการถูกกลั่นแกล้างจากเพื่อนหรือกลุ่มคนในสังคม และอีก 1% เกิดจากปัจจัยอื่น ๆ

ทำไมวัยรุ่นไทยถึงเป็นโรคซึมเศร้า ปัจจัยที่ส่งผลต่อสุขภาพจิตในวัยรุ่นไทย 2020 ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อเด็กวัยรุ่นไทยมากที่สุดคือปัญหาครอบครัว หากครอบครัวแตกแยก มีปัญหาความรุนแรง หรือกระทั่งปัญหาทางการเงินก็สามารถสร้างปัญหาที่กระทบทางจิตใจของเด็กได้ แม้เด็กจะอยู่ในช่วงวัยที่เริ่มเป็นผู้ใหญ่แต่การที่พื้นฐานครอบครัวมีปัญหาก็สามารถทำให้เด็กในวัยนี้เกิดความเครียดและสะสมและกลายเป็นโรคซึมเศร้าได้ในที่สุด ในเด็กบางคนอาจเกิดอาการก้าวร้าวและมีพฤติกรรมความรุนแรงจากสิ่งที่สั่งสมมาในครอบครัว ปัญหาต่อมาคือปัญหาที่เกี่ยวกับการงานและความรับผิดชอบต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เพราะเด็กวัยนี้กำลังเข้าสู่การเป็นผู้ใหญ่เต็มตัว ต้องเรียนรู้ที่จะใช้ชีวิตด้วยตัวเองมากขึ้น มีเรื่องให้รับผิดชอบจึงเป็นเรื่องธรรมดาที่เด็กในวัยนี้จะรู้สึกไม่มั่นคงและกังวลอยู่ตลอดเวลา จนสะสมเป็นความเครียดและปัญหาสุขภาพจิตในที่สุด ปัญหาสุดท้ายคือการถูก บูลลี่ (Bully) ไม่ว่าจะจากคนใกล้ตัว ผู้ใหญ่ หรือกระทั่งสังคมก็สามารถทำให้เด็กที่ถูกบูลลี่กลายเป็นโรคซึมเศร้าได้ในที่สุด
ค้นหาหาข้อมูลดีๆเพิ่มเติมได้จากเว็บ สุขภาพดี
บทความและข่าวสารอื่นๆที่น่าเป็นประโยชน์
- “ถั่วงอก” ผ่านการฟอกขาว เสี่ยงอันตรายถึงชีวิต จริงหรือไม่ ไปดูกันเลย
- แก้กระหายน้ำ เครื่องดื่มอะไรกันนะที่ช่วยให้เราได้ดีกว่าการดื่มน้ำ
- อาหารอันตราย คนอายุ 30 ขึ้นไป ไม่ควรรับประทานบ่อยรู้ไว้ดีที่สุด
- สรรพคุณของฝรั่งขี้นก ผลไม้พื้นบ้านที่หาได้ง่าย รสชาติหอมหวานอร่อย
- หัวไหล่ติด หัวไหล่ยึด สัญญาณเตือน คนวัยทำงาน วัยชรา เป็นจำนวนมาก
- ขอบตาดำคล้ำ สาเหตุมาจากการนอนไม่เพียงพอหรือไม่ สิ่งคนสงสัย