งาดำ งา2

งาดำ สามารถต้านโรคกระดูกพรุน โรคกระดูกพรุนนับว่าเป็นภัยเงียบที่อันตรายมากอย่างหนึ่งที่คุกคามสุขภาพของเรา เพราะโรคกระดูกพรุนแสดงอาการน้อยมาก ส่วนใหญ่จะรู้เมื่อมีอาการเจ็บปวด หรือแตกหักได้ง่าย ๆ ในคนไข้บางรายกระดูกสามารหักได้ขณะที่ล้มเบาๆ หรือกระแทกเบา ๆ ได้

ซึ่งการเกิดโรคกระดูกพรุนนั้นเกิดจากการไดรับแคลเซียมที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย เพราะร่างกายของเรามีการดึงแคลเซียมในมวลกระดูกไปใช้ตลอดเวลา เพื่อการซ่อมแซม และการรักษาระดับแคลเซียมในเลือด หากไม่ได้รับอาหารแคลเซียมสูงไปเสริมก็ทำให้เกิดกระดูกพรุนได้ง่าย ๆ

งาดำ คุณรู้หรือว่าสามารถต้านกระดูพรุนได้

งาดำ งา1

งาดำ นับว่าเป็นพระเอกในการชะลอความเสื่อมของกระดูกเลยก็ว่าได้ เพราะงาดำเป็นธัญพืชที่มีคุณประโยชน์สูงมาก ตั้งแต่สารต้านอนุมูลออิสระที่ช่วยเรื่องการชะลอวัย และงาดำยังมีเซซามินสูง

ช่วยลดไขมันในเลือดสูง ลดการเกิดโรคตับ โรคไตวายเรื้อรัง ไขมันในเส้นเลือด โรคที่เกี่ยวกับกล้ามเนื้อหัวใจ ลอดจนโรคข้อเสื่อม และกระดูกพรุนด้วย

ทำไมงาดำจึงสามารถต้านกระดูกพรุนได้ งาดำแม่ว่าเป็นเพียงธัญพืชเมล็ดเล็กๆ แต่งาดำเป็นธัญกพืชที่มีนำมันเยอะมากกว่าพืชชนิดอื่น ๆ และที่น่าทึ่งไปกว่านั้นคืองาดำมีแคลเซียมสูงมาก หากเปรียบเทียบที่ปริมาณเท่ากัน งาดำ  100 กรัม และนมวัว 100 กรัม งาดำจะมีปริมาณแคลเซียมมากกว่านมวัวถึง 8 เท่าเลยทีเดียว ซึ่งตามหลักโภชนาการคนเราควรได้รับแคลเซียมวันละ 800 มิลลิกรัม นั่นหมายความว่างาดำเพียงช้อนเดียวก็เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายแล้ว

งาดำ งา 3

ทำไมงาดำจึงมีผลกับการป้องกันกระดูกพรุนได้ดี นอกจากปริมาณแคลเซียมที่สูงกว่านมวัวแล้ว งามดำยังมีสารต้านอุมูลอิสระสูงมาก ซึ่งสารอนุมูลอิสระนี้เรียกให้ง่ายคือสิ่งที่ทำใก้เกิดความแก่ชรา และความเสื่อมถอยของร่างกายนั่นเอง ซึ่งรวมถึงกรเสื่อมสภาพของกระดูกจนกลายเป็นโรคกระดูกพรุนด้วย และงาดำยังเป็นสารอาหารบำรุงไตชั้นดี เมื่อไตทำงานได้ดีกระบวนการทำงานในการทำงานกับกระดูกของไตก็ดีตามไปด้วย เมื่อมวลกระดูกถูกผลิตได้อย่างดีและต่อเนื่องจึงทำให้ค่าความเสื่อมของกระดูกต่ำ และทำให้เราไม่เป็นโรคกระดูกพรุน และงาดำยังเป็นแหล่งวิตามินอีกมาก

แต่ด้วยคุณประโยชน์ที่มากมายนี้ก็มีข้อระวังในการรับประทานงาดำ ในคนที่มีประวัติแพ้ถั่วอาจจะมีอาการแพ้งาด้วย และคนที่ท้องเสียอยู่ก็ไม่ควรรับประทานงา เพราะฤทธิ์ของน้ำมันงาจะทำให้ยิ่งท้องเสียมากยิ่งขึ้น

หาข้อมูลเพิ่มเติมได้จากเว็บ สุขภาพดี

บทความและข่าวสาร

ข่าวสุขภาพอื่นๆ “ปวดเข่า” อาจเสี่ยงโรคอันตรายกว่า “ข้อเข่าเสื่อม”