ไวรัสตับอักเสบ (Hepatitis) คือ ภาวะที่เนื้อเยื่อของตับมีการอักเสบ และถูกทำลาย ส่งผลให้การทำงานของตับมีความผิดปกติ หรือไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
จนส่งผลให้ร่างกายเกิดการเจ็บป่วย และเกิดโรคแทรกซ้อนที่ตามมา
ไวรัสตับอักเสบ แต่ละชนิดร้ายแรง รีบรักษา

โรคตับอักเสบ มีทั้งชนิดเฉียบพลัน และชนิดเรื้อรัง โดยสาเหตุและชนิดของโรคตับอักเสบ สาเหตุของการติดเชื้อมักแตกต่างกันออกไป แต่ชนิดที่น่าเป็นห่วงที่สุดของไวรัสตับอักเสบ คือ ไวรัสตับอักเสบชนิดเรื้อรัง
ซึ่งสามารถเกิดโรคแทรกซ้อนที่ตามมาได้ คือ โรคตับแข็ง และโรคมะเร็งตับ
ไวรัสตับอักเสบ มีกี่ชนิด

โรคไวรัสตับอักเสบ (Hepatitis) มีสาเหตุการติดเชื้อของแต่ละชนิดแตกต่างกันออกไป ชนิดของโรคไวรัสตับอักเสบจึงขึ้นอยู่กับว่ารับเชื้อมาจากทางไหน สามารถแบ่งเชื้อไวรัสตับอักเสบแบ่งออกเป็น 5 ชนิด คือ
- ชนิดเอ (Hepatitis A)
การติดต่อของเชื้อ : มาจากการรับประทานผัก ผลไม้ น้ำดื่ม หรืออาหารที่มีการปนเปื้อนของเชื้อโรค
ระยะเวลาในการเพาะเชื้อ : ประมาณ 2-4 สัปดาห์ โดยในเด็กจะไม่ค่อยแสดงอาการ ส่วนในผู้ใหญ่จะมีการแสดงออกของเชื้ออย่างชัดเจน และเฉียบพลัน โดยเชื้อชนิดนี้จะมีการปนเปื้อนออกมาจากอุจจาระของผู้ป่วย หากไม่มีการรักษาความสะอาด จะทำให้โรคมีการติดต่อคนสู่คนได้ง่าย เพราะเชื้อทนต่อสภาพแวดล้อมภายนอก
ความรุนแรงของการติดเชื้อ : อัตราการตายต่ำ และผู้ป่วยไม่เป็นพาหะการเกิดโรคหลังจากหายเป็นปกติแล้ว
- ชนิดบี (Hepatitis B)
การติดต่อของเชื้อ : ติดต่อผ่านทางสารคัดหลั่งต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น อสุจิ เลือด น้ำเหลือง น้ำลาย น้ำนม โดยผ่านการติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การรับประทานอาหารร่วมกับผู้ป่วย การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน เป็นต้น
ระยะเวลาในการเพาะเชื้อ : หลังจากที่เชื้อเข้าสู่ร่างกายประมาณ 30-180 วัน
ความรุนแรงของการติดเชื้อ : ชนิดเรื้อรังจะนำไปสู่ภาวะตับแข็ง หรือเป็นมะเร็งตับ
- ชนิดซี (Hepatitis C)
การติดต่อของเชื้อ : เลือด และน้ำเหลือง เช่น การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน การมีเพศสัมพันธ์
ระยะเวลาในการเพาะเชื้อ : หลังจากที่เชื้อเข้าสู่ร่างกายประมาณ 15-160 วัน
ความรุนแรงของการติดเชื้อ : เสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งตับ
- ชนิดดี (Hepatitis D)
การติดต่อของเชื้อ : ผ่านทางสารคัดหลังของร่างการ เช่น การใช้เข็มฉีดยาร่วมกันในการใช้สารเสพติด แต่ไวรัสชนิดนี้จะต้องอยู่ร่วมกับไวรัสตับอักเสบ ชนิดบี ที่ผู้ป่วยมีเชื้ออยู่ก่อนแล้ว
- ชนิดอี (Hepatitis E)
การติดต่อของเชื้อ : การรับประทานอาหารที่มีการปนเปื้อนของเชื้อ
หาข้อมูลเพิ่มเติมได้จากเว็บ สุขภาพดี
บทความและข่าวสารอื่นๆ
- “ถั่วงอก” ผ่านการฟอกขาว เสี่ยงอันตรายถึงชีวิต จริงหรือไม่ ไปดูกันเลย
- แก้กระหายน้ำ เครื่องดื่มอะไรกันนะที่ช่วยให้เราได้ดีกว่าการดื่มน้ำ
- อาหารอันตราย คนอายุ 30 ขึ้นไป ไม่ควรรับประทานบ่อยรู้ไว้ดีที่สุด
- สรรพคุณของฝรั่งขี้นก ผลไม้พื้นบ้านที่หาได้ง่าย รสชาติหอมหวานอร่อย
- หัวไหล่ติด หัวไหล่ยึด สัญญาณเตือน คนวัยทำงาน วัยชรา เป็นจำนวนมาก
- ขอบตาดำคล้ำ สาเหตุมาจากการนอนไม่เพียงพอหรือไม่ สิ่งคนสงสัย
ข่าวสุขภาพอื่นๆ 8 เคล็ดลับ ดูแล “ตับ” ให้สุขภาพดี