หยุดหายใจขณะนอนหลับ

หยุดหายใจขณะนอน นอนเท่าไหร่ก็ไม่พอ ยิ่งนอนยิ่งรู้สึกเหนื่อย เพลีย เหมือนไม่ได้นอน ง่วงนอนมากผิดปกติตลอดเวลา หากคุณมีอาการเหล่านี้บ่อย ๆ อาจสงสัยได้ว่าคุณมีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ ซึ่งจะมีการหยุดหายใจในขณะที่นอนหลับอยู่ หรืออาจจะหยุดหายใจเป็นพัก ๆ ขณะหลับ ทำให้เซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายได้รับออกซิเจนไปหล่อเลี้ยงไม่เพียงพอ ทำให้อ่อนเพลีย และส่งผลต่อสุขภาพอย่างรุนแรงได้

หยุดหายใจขณะนอนหลับ เพลีย

หยุดหายใจขณะนอน หลับ (Obstruct Sleep Apnea:OSA)

ข้อสังเกตุที่บ่งชี้ได้ค่อนข้างชัดว่าคุณมีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับคือ นอนกรนเสียงดังมากเสมอ จนพาลให้คนที่นอนด้วยนอนไม่หลับ กรนแล้วหยุดเป็นพัก ๆ แล้วมีอาการเหมือนสำลักในขณะหลับ หายใจติดขัด หายใจแรงผิดปกติ นอนไม่เต็มอิ่ม ตื่นมาแล้วไม่สดชื่น ตื่นบ่อนระหว่างคืน ปวดศรีษะ หงุดหงิดง่าย ขี้ลืม ง่วงนอนมากในช่วงกลางวัน และความรู้สึกทางเพศลดลง เหล่านี้ล้วนเป็นสัญญาณว่าคุณอาจมีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับได้ หากมีอาการดังกล่าวนี้ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษา เพราะหากปล่อยไว้นานอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

หยุดหายใจขณะนอนหลับ

อันตรายจากการมีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับนั้นเป็นปัญหาเรื้อรัง หากมีอาการนี้ติดต่อกันยาวนานจะส่งผลต่อสุขภาพด้านอื่น ๆ เช่นทำให้เกิดโรคความดัน โรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน เบาปหวาน โรคหลอดเลือดสมองที่ทำให้เป็นอัมพฤกษ์อัมพาต และหยุดหายใจถาวรขณะนอนหลับหรือที่เรียกว่าไหลตายนั่นเอง ดังนั้นอาการผิดปกติที่เกิดจากการนอนเหล่านี้จึงไม่ควรมองข้าม

หากมีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับจะต้องรักษาอย่างไร เริ่มแรกแพทย์จะสอบประวัติเพื่อรู้ถึงพฤติกรรมการนอนจากคนใกล้ตัว และเริ่มทำ Sleep test เพื่อดูว่าหยุดหายใจกี่ครั้งขณะหลับ การทำงานของอวัยวะต่าง ๆ เป็นอย่างไรบ้าง โดยติดเครื่องมือทดสอบที่ประเมินผลได้แม่นยำ หากอากการไม่รุนแรงมากอาจแก้ได้ด้วยการปรับพฤติกรรม เช่นเปลี่ยนท่าเป็นนอนตะแคง นอนเอนตัวท่ากึ่งนอนกึ่งนั่ง หรือต้องลดน้ำหนักในคนไข้ที่มีน้ำหนักตัวมากเกินไป

ในรายที่อาการรุนแรงปานกลางจะรักษาด้วยเครื่อง CPAP และหน้ากาก CPAP ซึ่งเป็นเครื่องช่วยหายใจช่วยขยายทางเดินหายใจในขณะนอนหลับ ซึ่งทำให้หายใจเอาอากาศเข้าไปได้มากขึ้น ป้องกันการนอนกรนที่เป็นสาเหตุของภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับนั่นเอง

หยุดหายใจขณะนอนหลับ ง่วง

สำหรับรายที่อาการรุนแรงมาก หากรักษาด้วยวิธีการอื่นๆ ข้างต้นแล้วไม่ประสบผลสำเร็จ จำเป็นต้องรับการรักษาด้วยการผ่าตัด เช่นการผ่าตัดเพดานอ่อน ผ่าตัดกระดูกกราม หรือผ่าตัดเจาะคอเพื่อใส่อุปกรณ์ช่วยหายใจ อย่างใดอย่างหนึ่ง ตามระดับคสามรุนแรงของอาการป่วยภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ เพื่อให้คนไข้หายใจได้สะดวก และหาย หรือลดอาการภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับได้

หาข้อมูลเพิ่มเติมได้จากเว็บ สุขภาพดี

บทความและข่าวสาร

ข้อมูลสุขภาพเพิ่มเติม นอนกรน” เสียงดังเป็นประจำ เสี่ยง “หยุดหายใจ” ขณะหลับ